วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยินดีต้อนรับ

ผู้จัดทำรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ผู้อ่านบล๊อคของดิฉันเข้ามาดูและศึกษา
บทความที่ดิฉันนำมาลงเป็นนวัตกรรมที่เรียกว่า "ชุดการสอน" ก็จะประกอบไปด้วย
แผนการสอน คู่มือครู คู่มือนักเรียน ใบความรู้ ใบมอบหมายงานพร้อมเฉลย
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สำหรับวิชาสังคมศึกษาชั้น ป.4
เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

หากมีข้อคิดเห็นเสนอแนะ หรือเพิ่มเติมให้แก้ไขตรงส่วนไหนก็ comment
มาได้นะคะ
ขอบคุณค่ะ

นวัตกรรมของฉัน


ชุดการสอน
เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4


นางสาวมนพิชา เหมือนจินดา
โรงเรียนวัดหุบมะกล่ำ อำเภอ โพธาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2

คำนำ

ชุดการสอนเรื่อง พลเมืองดี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการ
สอนเรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ภายในชุดการสอนประกอบไปด้วยเนื้อหาเรื่องบทบาทหน้าที่ของการ
เป็น พลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศและคุณธรรมของการเป็น
พลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
ชุดการสอนเล่มนี้ได้อธิบายถึงการใช้งานคู่มือครู คู่มือนักเรียนอย่าง
ละเอียด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดีเล่มนี้
จะเป็นประโยชน์แก่ครู นักเรียนและผู้สนใจ ที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียน
การสอนให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ชุดการสอนเล่มนี้สำเร็จได้ดีเนื่องจากได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์
มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงทุกท่านที่ให้คำปรึกษาและช่วยแนะนำแก้ไข
ข้อบกพร่องต่างๆ จึงขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

มนพิชา เหมือนจินดา

บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญ
ในปัจจุบันเด็กๆ ส่วนมากไม่ค่อยรู้จักหน้าที่ของตัวเอง มีความก้าวร้าวเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่ และครูอาจารย์ผิดจากเด็กสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ผู้จัดทำเห็นความสำคัญที่อยากจะพัฒนาเด็กให้รู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และเป็นพลเมืองดีของชาติสืบต่อไป

ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
1. สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และดึงความสนใจของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี
3. ผู้เรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
4. สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อวิชา

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
2. เพื่อศึกษาได้ใช้งานเอกสารประกอบการเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3. เพื่อเป็นการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1. เพื่อให้นักเรียนอธิบายบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้
2. เพื่อให้นักเรียนอธิบายคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้

แผนการสอน

วิชา สังคมศึกษา (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตย) เรื่อง พลเมืองดี
จำนวน 2 คาบ ช่วงชั้นที่ 2 ( ป.4 )

สาระสำคัญ
พลเมืองดี คือ การที่ประชาชนยึดมั่นในหลักการของประชาธิปไตย ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม ผู้เรียนควรเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทและคุณธรรมของพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนรู้จักและบอกการเป็นพลเมืองดีได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้
2. นักเรียนอธิบายคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้
สาระการเรียนรู้
พลเมืองดี
1. บทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
2. คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
1.1 จัดทำนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม โดยใช้เกม “จับกลุ่มคนดี”
1.2 เร้าความสนใจด้วยสื่อนวัตกรรมเกี่ยวกับภาพเด็กดี ให้นักเรียนดูแล้วให้นักเรียนร้องเพลงเด็กดี แล้วตั้งประเด็นถึงการเป็นพลเมืองดี ว่าทำได้อย่างไรบ้าง
1.3 ครูอธิบายเกี่ยวกับพลเมืองดี แล้วนำใบความรู้ที่ 1 เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนศึกษาและช่วยกันระดมสมองศึกษาจากใบความรู้ที่ 1 แล้วมอบหมายงานให้นักเรียนทำในใบมอบหมายงานที่ 1
1.4 ปฏิบัติภาระงาน ตามที่กำหนดร่วมกันเป็นกลุ่มโดยปฏิบัติลงในใบมอบหมายงานที่ 1
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ตัวแทนของกลุ่มร่วมกันเฉลยใบงาน
1.6 นำเสนอผลงาน โดยส่งตัวแทนมาบอกบทบาทของการเป็นพลเมืองดีที่ฉันทำได้หน้าชั้นเรียน
1.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา
2. ขั้นอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
2.1 จัดทำนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม ตามที่จัดในข้อ 1.1
2.2 เร้าความสนใจ ด้วยเกม “เพื่อน...เรารักเธอนะ” เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน
2.3 ครูนำอภิปรายการเล่นเกม แล้วสรุปแนวคิดจากการเล่นเกม แล้วโยงแนวความคิดสำคัญของเกม กับเรื่อง “คุณลักษณะของพลเมืองดี” แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนศึกษาและช่วยกันระดมสมองศึกษาจากใบความรู้ที่ 2 แล้วมอบหมายงานให้นักเรียนทำในใบมอบหมายงานที่ 2
2.4 ปฏิบัติภาระงาน ตามที่กำหนดร่วมกันเป็นกลุ่ม
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ตัวแทนของกลุ่มร่วมกันเฉลยใบงาน
2.6 นำเสนอผลงาน โดยส่งตัวแทนกลุ่มมาเล่าตัวอย่างคนรอบตัวที่นักเรียนคิดว่าเป็นพลเมืองดีมา 5 คน พร้อมอธิบายเหตุผลหน้าชั้นเรียน
2.7 ประเมินผล สรุป และเพิ่มเติมเนื้อหา

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1.1 เกม จับกลุ่มคนดี
1.2 ภาพเด็กดี
1.2 เพลง เด็กดี
1.3 ใบงานที่ 1
1.3 ใบมอบหมายงานที่ 1
2.2 เกม เพื่อน เรารักเธอนะ
2.3 ใบความรู้ที่ 2
2.3 ใบมอบหมายงานที่ 2

การวัดผลและประเมินผล
วิธีวัดผล
1. วัดผลการศึกษาอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ด้วยการตรวจผลการอธิบายตามใบมอบหมายงานที่ 1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดผลการอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ด้วยการตรวจผลการศึกษาอธิบายตามใบมอบหมายงานที่ 2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ พบว่ากลุ่มนักเรียนบางกลุ่มยังไม่สามารถอธิบายบทบาทของการเป็นพลเมืองดีที่ฉันทำ แก้ไขด้วยการให้ครูอธิบายเพิ่มเติมแล้วให้นักเรียนมาอธิบายหลังเลิกเรียนที่ห้องพักครู
2. ประเมินผลการศึกษาอธิบายพลเมืองดีเกี่ยวกับคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ พบว่ากลุ่มนักเรียนบางกลุ่มยังไม่สามารถอธิบายคุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี แก้ไขด้วยการให้ครูอธิบายเพิ่มเติมแล้วให้นักเรียนมาอธิบายหลังเลิกเรียนที่ห้องพักครู
บันทึกหลังการสอน
_______________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

คู่มือครู



คู่มือครู
ชุดการสอนวิชาสังคมศึกษา (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตย)
เรื่อง พลเมืองดี


ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง พลเมืองดี
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่องบทบาทหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดีระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ
3. ใบความรู้ที่ 2 คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดีในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
4. ใบมอบหมายงานที่ 1
5. แบบเฉลยใบมอบหมายงานที่ 1
6. ใบมอบหมายงานที่ 2
7. แบบเฉลยใบมอบหมายงานที่ 2
8. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่อง พลเมืองดี
9. แบบเฉลยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเรื่อง พลเมืองดี

คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม ( ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม )
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการเรียนการสอน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องจัดเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนซึ่งแต่ละคนจะได้รับชุดการสอนคนละ 1 ชุด เว้นแต่สื่อการสอนที่ต้องใช้ร่วมกัน
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
6. ครูดำเนินการสอนตามแผนการสอนเรื่องพลเมืองดี
7. เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนทำใบกำหนดงาน ครูไม่ควรส่งเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดควรพูดเป็นรายบุคคล
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ถ้านักเรียนคนใดมีปัญหาครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
9. คุณครูควรพูดซ้ำให้นักเรียนเก็บชุดการสอน
10. การสรุปบทเรียนควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมด้วย

สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. เตรียมสื่อและอุปกรณ์ให้พร้อม
• ภาพเด็กดี
• เพลง เด็กดี
2. เตรียมชุดการสอน เรื่อง พลเมืองดี
3. เตรียมแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรือง พลเมืองดี

บทบาทครู
1. ครูต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์ให้เพียงพอ
2. ครูต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการเรียนรู้ที่ได้เตรียมไว้
3. ครูต้องสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
4. ครูต้องประเมินผลและให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียน

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากการทำใบมอบหมายงานที่ 1 และ ใบมอบหมายงานที่ 2
3. สังเกตจากการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

ใบมอบหมายงานที่ 1

คำชี้แจง ตอนที่ 1 จงเขียนเครื่องหมาย O ล้อมรอบตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง ( 5 คะแนน )
1. การกระทำในข้อใดที่จัดว่าผู้กระทำเป็นผู้มีเหตุผล
ก. นนท์บอกกับอ้อมว่าเฟร้นท์พูดจาไร้สาระ
ข. เน็ตเชื่อว่าตนเองเป็นคนที่พูดเก่งที่สุดในกลุ่ม
ค. โอ๊ตจะยอมรับและทำเฉพาะเรื่องที่มีเหตุผลชัดเจน
ง. ต้าร์ ประกาศในที่ประชุมกลุ่มว่า ขอให้ทุกคนตั้งใจฟัง
2. มิ้งค์ ท้อ และโหนก ต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกันในวิธีการเสนอผลงานกลุ่ม แต่ในที่สุดสามารถตก ลงกันได้ โดยเลือกความคิดเห็นที่ร่วมกันว่าดีที่สุด การกระทำของพวกเขาสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. การยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน ข. การยอมรับเสียงข้างมาก
ค. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม ง. การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
3. ในวันแข่งขันกีฬาสี วรชัยต้องหยุดขายพวงมาลัย 1 วันเพราะเขาเป็นนักกีฬาฟุตบอลของทีมโรงเรียนวัดหุบมะกล่ำ การกระทำของวรชัยสอดคล้องกับข้อใด
ก. การมีเหตุผล
ข. ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
ค. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม
ง. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
4. การกระทำใดจัดว่าเป็นการปฏิบัติตนตามกฎหมายระดับท้องถิ่น
ก. นายปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน
ข. มินทำร้ายร่างกายผู้อื่น
ค. ริว รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ครูสุภาพร ไปเสียภาษีโรงเรือนที่เทศบาล
5. ครูโสภณรู้ว่ามีหัวคะแนนมาพาคนในชุมชนไปเที่ยว แถมแจกเงิน และสิ่งของเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ครูโสภณจึงไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ การกระทำของครูโสภณสอดคล้องกับข้อใด
ก. ช่วยป้องกันประเทศ
ข. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
ค. การปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่น
ง. รักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนบอกบทบาทของการเป็นพลเมืองดีที่ฉันทำได้ อย่างน้อย 5 ข้อ ( 5 คะแนน )

.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................